Whiskas imagery
ค้นหา

ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาด้านล่างเพื่อค้นหาบทความและผลิตภัณฑ์

เปิดเคล็ดลับทายนิสัยและวิธีดูเพศลูกแมวแบบง่าย ๆ

อยากเป็นทาสแมวกันไหม? กำลังวางแผนรับเลี้ยงแมวกันอยู่หรือเปล่า? 

แมวเหมียวจะช่วยเติมเต็มความสุขและความสนุกในชีวิตของคุณได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามมีหลายปัจจัยที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจพาเจ้าตัวน้อยทั้งหลายกลับบ้าน

น้องแมวหนึ่งตัวจะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 12 ปี การเลือกแมวที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และสภาพแวดล้อมภายในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเริ่มจากการพิจารณาตัวเองก่อนว่าพร้อมรับผิดชอบและมีเวลาสำหรับการดูแลเอาใจใส่แล้วหรือยัง พร้อมจัดเตรียมบ้านที่เต็มไปด้วยความรักให้พวกเค้าหรือไม่ หากคำตอบคือ “พร้อม” คุณสามารถทำตามเคล็ดลับในการรับเลี้ยงแมวต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะมีความทรงจำที่ดีและมีความสุขกับการมีแมวเหมียวเป็นของตัวเอง

ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจรับเลี้ยงแมว

  • ควรเลี้ยงลูกแมวตัวน้อยหรือน้องแมวโตเต็มวัย?

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าลูกแมวคือสิ่งมีชีวิตที่น่ารักที่สุดในโลก แต่การเลี้ยงลูกแมวแรกเกิดอาจไม่ใช่เรื่องง่าย คุณต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่เจ้าตัวน้อยเหล่านี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากลูกแมวเต็มไปด้วยพลังและซุกซนมาก! ในการเลือกลูกแมวกลับบ้าน ให้มองหาเจ้าตัวน้อยที่มีท่าทางเป็นมิตร หากมีพฤติกรรมไม่น่ารัก เช่น กัดหรือข่วนบ่อย ๆ ก็มีความเป็นไปได้ว่าพวกเค้าอาจมีนิสัยก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น ทั้งนี้ควรพาลูกแมวไปตรวจเช็กสุขภาพกับสัตวแพทย์ก่อนพากลับบ้าน

    น้องแมวโตเต็มวัยก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน พวกเค้าจะออดอ้อนคุณตลอดเวลาเลยล่ะ! แมวโตแตกต่างจากลูกแมวตรงที่มีพลังงานต่ำ จึงดูแลได้ง่ายกว่า แต่แมวโตจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่เด่นชัดและฝึกได้ค่อนข้างยาก ทั้งนี้แนะนำให้ศึกษาลักษณะนิสัย ความชอบ พฤติกรรมการกิน ท่าทางและอารมณ์แมวให้ดีก่อนตัดสินใจพากลับบ้าน

  • การเลือกเพศแมว

    แมวตัวผู้และแมวตัวเมียแตกต่างกันอย่างไร? แมวเพศไหนที่เหมาะกับเราที่สุด? หากต้องการรับเลี้ยงลูกแมวเพียงตัวเดียว เพศแมวที่จะเลี้ยงจึงไม่ค่อยสำคัญ ทาสแมวส่วนใหญ่ก็มักจะไม่สนใจดูเพศลูกแมวกันเลย แต่หากต้องการรับเลี้ยงแมวเพิ่มในอนาคต แนะนำให้เลือกเพศตรงข้ามกับน้องแมวในบ้าน เพื่อลดความตึงเครียดในการอยู่ร่วมกัน

    การดูเพศลูกแมวก่อนรับเลี้ยงอาจเป็นสิ่งจำเป็น หากคุณต้องการเพิ่มสมาชิกแมวเหมียวในอนาคต โดยลูกแมวส่วนใหญ่สามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุประมาณ 4 เดือน ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ลูกแมวเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ แมวตัวผู้และตัวเมียที่ยังไม่ทำหมันจะมีพฤติกรรมแตกต่างกัน ในขณะที่ตัวผู้จะปัสสาวะปล่อยกลิ่นเฉพาะตัวเพื่อสร้างอาณาเขต ตัวเมียอาจตั้งท้องหรืออาจออกลูกเกือบทุกสองสัปดาห์

  • สายพันธุ์แมว – จะเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะกับตัวเราได้อย่างไร?

    สายพันธุ์เป็นหนึ่งในตัวกำหนดลักษณะนิสัยของแมว ระดับพลังงาน และวิธีการดูแล โดยคุณอาจต้องถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้กันก่อน เพื่อเฟ้นหาว่าน้องแมวพันธุ์ไหนที่เหมาะสำหรับคุณมากที่สุด

วิธีการเลือกสายพันธุ์แมวเหมียว

  1. ลูกแมวแบบไหนที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเรามากที่สุด?

    เริ่มจากศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะนิสัยของแมวแต่ละสายพันธุ์ หากลูกแมวมีนิสัยขี้เล่น เป็นมิตร และสดใสร่าเริง พวกเค้าจะเติบโตในบ้านที่มีเด็กหรือมีสมาชิกในครอบครัวหลายคนได้ดี ส่วนน้องแมวรักอิสระก็อาจจะเหมาะกับเจ้าของที่อยู่คนเดียว คุณควรตัดสินใจด้วยว่าต้องการเลี้ยงน้องแมวในบ้านหรือนอกบ้าน

  2. มีสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้านหรือไม่?

    แมวบางตัวอาจหวงถิ่นมากและอาจเข้ากับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นได้ไม่ดีนัก ให้มองหาสายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเป็นมิตรและปรับตัวเก่ง เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าเหมียวจะเข้ากับสัตว์เลี้ยงในบ้านของเราได้เป็นอย่างดี

  3. คุณมีเวลาดูแลน้องแมวมากน้อยแค่ไหน?

    หากคุณมีตารางงานที่วุ่นวาย ให้มองหาแมวสายพันธุ์ที่ชอบอยู่ลำพัง มีความรักอิสระ และไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลมาก ไม่ต้องแปรงขนบ่อย ๆ แต่ถ้าคุณมีเวลาและมักจะอยู่บ้านเป็นประจำ อาจเลือกพันธุ์ที่ชอบอ้อน ชอบให้กอดหรือสัมผัสตัว

  • ลักษณะเฉพาะตัวและวิธีการสื่อสารของแมว

    แมวมักถูกมองว่าหยิ่งและเย็นชา เนื่องจากมีนิสัยชอบเก็บตัวและไม่ค่อยแสดงความรักแบบที่น้องหมาชอบทำ แต่ในความเป็นจริงนั้น น้องแมวไม่ได้ต้องการตัดขาดกับผู้คน พวกเค้ามีวิธีการสื่อสารมากมายกับทาสแมวคนโปรด ซึ่งคุณควรเรียนรู้การสื่อสารแบบฉบับแมวเหมียวกันเอาไว้ เพื่อให้เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของพวกเค้ามากยิ่งขึ้น

    ภาษากายและเสียงร้องเป็นวิธีสื่อสารของแมวที่พบได้บ่อย หากพวกเค้าเอาหน้าหรือหางมาถูไถที่ตัวคุณ พร้อมส่งเสียงร้องเพอร์ในลำคอ แสดงว่าคุณคือทาสแมวคนโปรด! ในทำนองเดียวกัน ถ้าน้องแมวส่งเสียงร้องเมี้ยวสั้น ๆ แปลว่าต้องการทักทายหรือเรียกร้องความสนใจ แต่ถ้าน้องแมวส่งเสียงร้องดังอย่างต่อเนื่อง คุณอาจต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะมันบ่งบอกถึงความไม่พอใจ ความสับสน หรืออาจกำลังรู้สึกวิตกกังวล นอกจากนี้น้องแมวอาจส่งเสียงขู่ฟ่อไปจนถึงขู่คำรามเมื่อรู้สึกว่าถูกคุกคาม บางตัวอาจยืดขาหน้า โก่งหลัง และทำขนพองเพื่อให้ดูตัวใหญ่ขึ้นพร้อมจู่โจม

  • ความมั่นคงทางอารมณ์

    อารมณ์แมวอาจได้รับอิทธิพลมาจากพ่อแม่แมว ไม่ว่าจะนิสัยเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร มั่นใจหรือขี้อาย ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถคาดเดานิสัยใจคอของน้องแมวทุกตัวได้ แต่ผู้เพาะพันธุ์มักจะเลี้ยงน้องแมวที่เป็นมิตรมาผสมพันธุ์โดยหวังว่าลักษณะนิสัยนี้จะส่งต่อไปยังลูกแมว คุณสามารถสอบถามผู้เพาะพันธุ์เกี่ยวกับอารมณ์ของพ่อแม่แมว รวมถึงอาจสังเกตเพิ่มเติมจากลูกแมวตัวอื่น ๆ ในครอกด้วยก็ได้ สำหรับแมวจร คุณอาจสังเกตแม่แมวเพื่อดูว่ามีสัญญาณของความเป็นมิตรหรือความก้าวร้าวหรือไม่

  • ลักษณะขนของแมว

    ก่อนรับเลี้ยงน้องแมวควรพิจารณาลักษณะขนของพวกเค้าให้ดีกันก่อน อย่างน้องแมวเปอร์เซียที่มีขนยาวและหนา อาจต้องดูแลขนมากกว่าสายพันธุ์อื่น น้องแมวสฟิงซ์ก็ควรได้รับการดูแลผิวหนังมากเป็นพิเศษเพราะมีขนน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย ทั้งนี้การระบุลักษณะขนของน้องแมวจรอาจทำได้ยากกว่าแมวพันธุ์ แต่ไม่ต้องกังวลไป คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดูแลขนของน้องแมวเพิ่มเติมได้

สุขภาพโดยรวมของแมว

สภาวะสุขภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักสำหรับการเลือกเลี้ยงแมว โดยคุณสามารถสังเกตสัญญาณสุขภาพดีเหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณเลือกเจ้าตัวน้อยที่แข็งแรงกลับบ้าน ทั้งนี้อย่าลืมพาพวกเค้าไปตรวจเช็กสุขภาพกับสัตวแพทย์ให้เรียบร้อยก่อนพาเข้าบ้านกันด้วยนะ

  • ตา – น้องแมวสุขภาพดีจะมีดวงตาสดใส ไม่ขุ่นมัว และไม่มีขี้ตาเกรอะกรัง เช็กด้วยว่าลูกแมวลืมตาดีทั้งสองข้างแล้วและสามารถเดินตามมือของคุณได้
  • หู – หูของเจ้าเหมียวต้องสะอาดและไม่มีคราบ รวมถึงไม่ควรมีผื่นหรือร่องรอยของไรหู คอยสังเกตดูว่าพวกเค้ามีอาการคันและเกาหูตัวเองบ่อยหรือไม่
  • จมูก – ลูกแมวหรือน้องแมวที่คุณต้องการรับกลับบ้านควรหายใจได้อย่างสะดวก ตรวจสอบจมูกเช่นเดียวกับที่คุณตรวจสอบดวงตาและใบหูของพวกเค้า ลูกแมวควรมีจมูกที่สะอาด ไม่แห้ง ไม่มีน้ำมูกหรือเลือดไหลออกมา
  • ปาก – สิ่งที่ควรตรวจสอบในช่องปากของเจ้าเหมียว ได้แก่ สีของเหงือกและฟัน หากมีเหงือกสีชมพูและมีฟันขาวเรียงตัวสวย โดยไม่มีสิ่งผิดปกติ จะถือว่ามีสุขภาพช่องปากที่ดี
  • ก้น – อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบคือก้นน้อย ๆ ของน้องแมว โดยต้องไม่มีบาดแผล ผื่นแดง ไม่มีตกขาวหรือเลือดไหลออกมา ขนก็ไม่ควรเป็นสังกะตัง
  • ลำตัว – ก่อนพาลูกแมวตัวน้อยกลับบ้าน ควรตรวจสภาพร่างกายพวกเค้าอย่างละเอียด โดยต้องมีรูปร่างสมส่วนและเหมาะสมตามลักษณะสายพันธุ์ ต้องไม่มีอาการท้องอืด ก้อนเนื้อ หรือตุ่มนูนบริเวณลำตัว
  • ความอยากอาหาร – ควรตรวจสอบด้วยว่าน้องแมวมีความอยากอาหารตามปกติหรือไม่ โดยสังเกตจากช่วงเวลาให้อาหาร หากไม่สามารถทำได้ ให้สอบถามพฤติกรรมการกินอาหารจากผู้เพาะพันธุ์ และพาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เพื่อเช็กสภาพร่างกายโดยละเอียด
  • การฝึกเข้าสังคม

    การฝึกเข้าสังคมให้น้องแมวเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเริ่มตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น การฝึกจะช่วยให้น้องแมวรู้จักปรับตัวเข้าหาผู้คน อีกทั้งยังช่วยป้องกันความวิตกกังวลและพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อเข้าบ้านครั้งแรกได้อีกด้วย คุณสามารถสอบถามผู้เพาะพันธุ์ได้ว่าน้องแมวมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อถูกเด็ก ๆ อุ้ม หรือเข้ากับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นได้หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น

  • ค่าใช้จ่ายในการดูแลแมว

การรับเลี้ยงแมวคือการลงทุน ทั้งเงินและเวลา ไม่ใช่แค่ค่าตัวแมวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คุณยังต้องจ่ายเงินเตรียมความพร้อมอีกหลายอย่าง เพื่อช่วยให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกปลอดภัยในสภาพแวดล้อมใหม่ โดยคุณอาจต้องซื้อข้าวของและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

  • อาหารและขนมแมว
  • ชามน้ำ ชามอาหาร
  • กรง หรือกระเป๋าแมว
  • กระบะทรายและทรายแมว
  • เบาะนอน
  • อุปกรณ์ดูแลทำความสะอาดขน
  • เสาลับเล็บ

นอกจากค่าอุปกรณ์แล้ว คุณอาจต้องเก็บเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย

  • ค่าตรวจสุขภาพ ยารักษาโรค การถ่ายพยาธิและป้องกันเห็บหมัด
  • ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอาหาร ทรายแมว และของเล่น

คุณอาจสำรวจและประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดคร่าว ๆ ก่อนตัดสินใจรับเลี้ยงแมว โดยเฉพาะค่ารักษาที่จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ และมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อแมวโตขึ้น

ไม่ใช่ว่าแมวทุกตัวจะรักสันโดษ พวกเค้ายังต้องการเวลาและความสนใจจากคุณอยู่เสมอ อย่างลูกแมวอาจจะเรียกร้องความสนใจมากกว่าน้องแมวโต เพราะอยู่ในวัยชอบเล่นชอบลอง ส่วนน้องแมวขนยาวก็ต้องดูแลเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ และอาจทำให้คุณมีค่าใช้จ่ายในการดูแลขนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพิจารณาปัจจัยทั้งหมดนี้ก่อนรับเลี้ยง จะช่วยให้คุณเลือกน้องแมวที่เพอร์เฟกต์ที่สุดได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลือกรับเลี้ยงแมว

  1. ควรรับเลี้ยงลูกแมวตอนอายุเท่าไรจึงจะเหมาะสม?

    ลูกแมวอายุ 8 – 12 สัปดาห์เหมาะสำหรับการรับเลี้ยงที่สุด เนื่องจากอยู่ในช่วงหย่านมและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ลูกแมวในวัยนี้ยังฝึกได้ง่ายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้เป็นอย่างดี

  2. สายพันธุ์แมวใดบ้างที่เหมาะกับมือใหม่หัดเลี้ยง?

    นิสัยของแมวแต่ละตัวแตกต่างกัน จึงไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุดสำหรับคำถามนี้ อย่างไรก็ตาม แมวบางสายพันธุ์ขึ้นชื่อเรื่องความเป็นมิตรและเลี้ยงง่ายเหมาะสำหรับผู้เลี้ยงแมวครั้งแรก เช่น น้องแมวเมนคูน โซมาลี วิเชียรมาศ แร็กดอลล์ อเมริกันช็อตแฮร์ และเบอร์มีส

  3. ควรเลี้ยงแมวเพศไหนดี?

    เพศของแมวนั้นไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เพราะจะแนะนำให้ทำหมันเมื่อมีอายุประมาณ 4 เดือน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีการทำหมัน สภาพแวดล้อมรอบตัวและนิสัยของแมวก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมมากกว่าปัจจัยเรื่องเพศ

  4. แมวพันธุ์ไหนดูแลง่ายที่สุด?

    น้องแมวเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ไม่ต้องดูแลมากมาย ยกเว้นน้องแมวที่มีขนยาวอาจต้องแปรงขนบ่อย ๆ ส่วนสายพันธุ์ที่ดูแลได้ง่าย ได้แก่ อเมริกันช็อตแฮร์ ยูโรเปียนช็อตแฮร์ แร็กดอลล์ บอมเบย์ เปอร์เซีย อะบิสซิเนียน ค็อกนิช เร็กซ์ และสกอตติช โฟลด์

  5. ทาสแมวมือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง?

    ต้องจัดเตรียมอาหาร น้ำ และอุปกรณ์สำหรับการดูแลให้พร้อม ทั้งแปรงหวีขน ทรายแมว และกระบะทราย เก็บข้าวของชิ้นเล็ก อย่างยางรัดผม ลูกหิน และฝาขวดให้พ้นมือแมว เพราะพวกเค้าอาจกลืนลงคอจนเกิดการสำลักได้ สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินอยู่เสมอด้วย

Whiskas buy online