Whiskas imagery
ค้นหา

ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาด้านล่างเพื่อค้นหาบทความและผลิตภัณฑ์

เมื่อลูกแมวท้องเสียและท้องผูก

ตรงที่ระบบการย่อยอาหารของพวกเขานั้นจะทำการเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไปให้กลายเป็นพลังงาน ซึ่งหากอาหารที่กินเข้าไปไม่ดีนั้น ก็อาจจะส่งผลต่อท้องของพวกเขาได้ โดยอาการที่พบได้บ่อยได้แก่ อาการท้องร่วงและท้องผูก หากน้องเหมียวของคุณมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น คุณควรพาเขาไปให้สัตวแพทย์ลองตรวจเช็คดู

การอาเจียน

หากน้องเหมียวของคุณอาเจียนเป็นครั้งเป็นคราวนั้น ก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่นัก เพราะ เช่นเดียวกับแมวตัวอื่นๆ การอาเจียนนั้นเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติที่จะช่วยปกป้องตัวน้องเหมียวเองจากสารอันตรายต่างๆ แต่หากน้องเหมียวของคุณอาเจียนเป็นประจำและคุณกังเวลเกี่ยวกับสุขภาพของเขาล่ะก็ คุณก็ควรพาเขาไปพบสัตวแพทย์

อาการท้องร่วง

อาการท้องร่วงนั้นอาจะเกิดจากเปลี่ยนอาหารของน้องเหมียว การให้อาหารมากเกินไป หรือการติดเชื้อต่างๆ โดยปกติแล้วน้องเหมียวของคุณควรถ่ายอุจจาระอย่างน้อยวันละครั้ง ดังนั้นคุณควรคอยหมั่นสังเกตหากมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น อาการท้องร่วงนั้นอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อน้องเหมียวได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณ

สาเหตุของอาการท้องเสีย

สาเหตุที่อาจทำให้ลูกแมวท้องเสีย มีดังนี้

  • มีพยาธิหรือปรสิตในลำไส้
  • โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ในแมว
  • การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน
  • ภาวะตับอ่อนอักเสบ
  • การอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
  • มะเร็ง
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

ลักษณะอาการ

อาการที่พบได้บ่อยเมื่อลูกแมวท้องเสีย ได้แก่:

  • ถ่ายบ่อย (มากกว่าปกติ 2 - 3 เท่า)
  • ถ่ายเหลวเป็นน้ำ
  • ถ่ายนอกกระบะทรายโดยไม่ตั้งใจ
  • มีอาการปวดท้อง
  • ตึงเครียดขณะขับถ่าย

โดยทั่วไปหากลูกแมว 3 สัปดาห์ท้องเสีย พวกเค้าจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 - 3 วัน แต่เจ้าของก็ควรเช็กให้แน่ใจด้วยว่าพวกเค้ากินน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และควรสังเกตอาการโดยรวมอย่างใกล้ชิด หากเจ้าตัวน้อยอาการยังไม่ดีขึ้น หรือพบว่ามีไข้ อาเจียน เซื่องซึม เบื่ออาหาร และอุจจาระมีเลือดปนหรือมีสีดำ แนะนำให้รีบพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ในทันที

การดูแลรักษาอาการท้องเสีย

การรักษาแมวเด็กท้องเสียจะเป็นไปตามสาเหตุของอาการ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้:

การรักษาทั่วไป:

 สัตวแพทย์จะสั่งยารักษาตามสาเหตุของอาการ โดยอาจสั่งยาเมโทรนิดาโซลหรือเพรดนิโซโลนให้เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ รวมถึงอาจให้ถ่ายพยาธิหรือให้กินโพรไบโอติกส์เพิ่มเติม สำหรับลูกแมวที่ปวดท้องจากโรคลำไส้อักเสบ คุณหมออาจแนะนำให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ด้วย

การดูแลด้วยตนเอง:

 หากเจ้าเหมียวมีอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรง เจ้าของสามารถดูแลพวกเค้าเองที่บ้านได้ โดยทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ดังนี้:

  • เปลี่ยนอาหาร

หากพบว่าเจ้าเหมียวมีอาการท้องเสียหลังเปลี่ยนมาให้อาหารชนิดใหม่ ควรหยุดและเปลี่ยนกลับไปให้อาหารเดิมทันที ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนมาให้อาหารใหม่ ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาท้องไส้ปั่นป่วน โดยสามารถทำตามคำแนะนำด้านล่างนี้:

วันที่ 1 และ 2: อาหารเดิมปริมาณ ¾ และอาหารใหม่ปริมาณ ¼ 
วันที่ 3 และ 4: อาหารเดิมปริมาณ ½ และอาหารใหม่ปริมาณ ½
วันที่ 5, 6 และ 7: อาหารเดิมปริมาณ ¼ และอาหารใหม่ปริมาณ ¾

ตั้งแต่วันที่ 8 เป็นต้นไป: อาหารใหม่ทั้งหมด

หากเจ้าเหมียวมีอาการท้องเสียจากการกินอาหารเดิม ให้ตรวจสอบว่าอาหารดังกล่าวมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากความต้องการของแมวจะเปลี่ยนไปตามช่วงวัย และการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอก็อาจทำให้ระบบย่อยอาหารของพวกเค้าปั่นป่วนได้

  • กินน้ำให้เพียงพอ

เตรียมน้ำสะอาดให้พร้อมและเข้าถึงได้ตลอดเวลา อาจสลับมาให้อาหารเปียก เพื่อช่วยให้เจ้าเหมียวได้รับน้ำเพิ่มขึ้น

  • ทำความสะอาดกระบะทราย

ควรทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อสุขลักษณะที่ดีทั้งของตัวคุณเองและเจ้าตัวน้อย

  • ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่

ให้เจ้าเหมียวพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่สงบและปลอดภัยเพื่อลดความตึงเครียด รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหรือการเล่นที่สร้างความตื่นเต้นที่มากเกินไป

อาการท้องผูก

หากคุณสังเกตเห็นน้องเหมียวของคุณดูเกร็งๆในกระบะทรายล่ะก็ เขาอาจจะกำลังมีอาการท้องผูกอยู่ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหาร การให้อาหารมากเกินไป หรือการติดเชื้อเช่นเดียวกับอาการท้องร่วง หากมีอาการดังกล่าวติดต่อกันเกิน 48 ชั่วโมง คุณควรปรึกษาสัตวแพทย์

สาเหตุของอาการท้องผูก

ปัญหาท้องผูกในแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น:

  • เลียขนมากเกินไป ส่งผลให้มีก้อนขนอุดตันในทางเดินอาหารจนไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้
  • ได้รับไฟเบอร์หรือใยอาหารไม่เพียงพอ
  • ลำไส้อุดตัน
  • โรคไต
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง
  • มีเนื้องอกในลำไส้ใหญ่
  • โรคลำไส้โป่งพอง (Feline Megacolon) – เป็นโรคที่เกิดจากลำไส้ใหญ่ขยายใหญ่ขึ้นโดยที่กล้ามเนื้อไม่สามารถควบคุมการบีบตัวและขับอุจจาระออกมาได้

ลักษณะอาการ

ลูกแมวท้องผูกมักจะมีอาการเหล่านี้:

  • อุจจาระแห้งและแข็ง
  • ถ่ายน้อยกว่าปกติหรือไม่ถ่ายเลย
  • ส่งเสียงร้องขณะขับถ่าย
  • หน้าท้องตึงและหลังค่อม

หากพบว่าเจ้าตัวน้อยไม่ถ่ายเลยเป็นเวลา 48 - 72 ชั่วโมง รวมถึงมีอาการข้างต้นร่วมกับอาการอาเจียน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร หรือพฤติกรรมผิดปกติอื่น ๆ  ให้รีบพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ในทันที ทั้งนี้ลูกแมวท้องผูกถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด

การดูแลรักษาอาการท้องผูก

การรักษาอาการท้องผูกในแมวจะเป็นไปตามสาเหตุของอาการ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้:

การรักษาทั่วไป

ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนสูตรอาหารและกิจวัตรบางอย่าง เช่น เปลี่ยนมาให้อาหารที่มีไฟเบอร์สูง และเพิ่มการกินน้ำให้มากขึ้น คุณหมออาจสั่งยาระบาย โพรไบโอติกส์ และยาขับก้อนขนเพิ่มเติมด้วยขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ หากมีอาการรุนแรงหรือเจ้าเหมียวไม่ถ่ายเป็นเวลาหลายวัน คุณหมออาจต้องนำเอาอุจจาระออกจากลำไส้ใหญ่ แต่ในกรณีที่มีอาการลำไส้โป่งพอง อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด

การดูแลด้วยตนเอง

หากเจ้าเหมียวมีอาการไม่รุนแรงก็สามารถดูแลเองได้ที่บ้านตามคำแนะนำเหล่านี้:

  • เปลี่ยนอาหาร

เพิ่งเปลี่ยนมาให้อาหารใหม่ใช่หรือไม่? ถ้าใช่ อาหารชนิดใหม่อาจจะเป็นสาเหตุของอาการท้องผูก ลองเปลี่ยนกลับไปให้อาหารเดิมดูก่อน

  • ให้กินน้ำมากขึ้น

กระตุ้นให้เจ้าเหมียวกินน้ำมากขึ้น อาจเปลี่ยนมาให้อาหารเปียกเพื่อให้พวกเค้ารับน้ำเพิ่มมากขึ้น

  • ให้อาหารที่มีไฟเบอร์สูง

อาหารของเจ้าเหมียวมีไฟเบอร์เพียงพอตามความต้องการในแต่ละวันหรือไม่? อาจเปลี่ยนมาให้อาหารที่มีไฟเบอร์สูง โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้

  • เสริมด้วยโพรไบโอติกส์

หากอาหารแมวของคุณไม่มีโพรไบโอติกส์ อาจให้เพิ่มเป็นอาหารเสริมเพื่อบำรุงระบบย่อยอาหารและลำไส้ได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจให้อาหารเสริม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปัญหาช่องท้องของแมวเหมียว

  1. อาหารที่ดีสำหรับลูกแมวท้องผูก มีอะไรบ้าง?

    อาหารแมวที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์และโพรไบโอติกส์เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับน้องแมวท้องผูก หรืออาจเปลี่ยนมาให้อาหารเปียกเป็นบางมื้อ เพื่อช่วยให้เจ้าเหมียวรับน้ำเพิ่มมากขึ้น

  2. น้องแมวท้องผูกสลับท้องเสียได้หรือไม่?

    หากน้องแมวมีอาการลำไส้โป่งพอง ก็อาจมีอุจจาระสะสมในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจเกิดความเข้าใจผิดว่าลูกแมวท้องเสีย เนื่องจากมีอุจจาระเล็ด โดยที่อุจจาระมีลักษณะแห้งและแข็ง หากพบว่าพวกเค้ามีอาการท้องผูกและท้องเสียในเวลาเดียวกัน แนะนำให้พาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  3. อาการท้องผูกใช้เวลารักษานานแค่ไหน?

    ระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ อาจใช้เวลา 2 - 3 วัน หรืออาจนานถึง 12 สัปดาห์ โดยทั่วไปการเปลี่ยนอาหารต้องใช้เวลาสักพักจึงจะเห็นผล ในขณะที่การให้ยาจะสามารถบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว

  4. น้องแมวท้องเสียโดยที่ลำไส้อุดตันได้หรือไม่?

    อาการท้องเสียเป็นหนึ่งในอาการของลำไส้อุดตัน หากอุดตันเพียงบางส่วน น้องแมวก็อาจมีอาการท้องเสียได้ แต่ถ้าเกิดการอุดตันอย่างสมบูรณ์ อุจจาระจะไม่สามารถผ่านออกไปได้ ถือเป็นภาวะที่ร้ายแรง ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

  5. น้องแมวจะกลับมาขับถ่ายตามปกติเมื่อไหร่หลังมีอาการท้องเสีย?

    หากน้องแมวไม่ขับถ่ายเลยเป็นเวลา 48 - 72 ชั่วโมง หลังมีอาการท้องเสียหรือในสภาวะปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

Whiskas buy online