Whiskas imagery
ค้นหา

ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาด้านล่างเพื่อค้นหาบทความและผลิตภัณฑ์

อาการและการดูแลรักษาโรคแมวแต่ละประเภท

แน่นอนว่าเราต่างก็รักและเอ็นดูน้องแมวมาก เพราะหน้าตาและท่าทางที่แสนน่ารัก อีกทั้งน้องแมวยังเป็นผู้ช่วยบำบัดอารมณ์และความรู้สึกที่ดีมาก ช่วยให้เจ้าของรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงคลายความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจได้อีกด้วย

แน่นอนว่าเราต่างก็รักและเอ็นดูน้องแมวมาก เพราะหน้าตาและท่าทางที่แสนน่ารัก อีกทั้งน้องแมวยังเป็นผู้ช่วยบำบัดอารมณ์และความรู้สึกที่ดีมาก ช่วยให้เจ้าของรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงคลายความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจได้อีกด้วย

เพราะน้องแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนวิเศษและดีต่อใจของเรา การดูแลพวกเค้าให้มีสุขภาพดีปราศจากโรคร้ายจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของเหล่าคนรักแมว ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเค้ามีอายุยืนยาวขึ้นแล้ว การดูแลเอาใจใส่ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่เยี่ยมยอดอีกด้วย

โรคแมวที่พบได้บ่อยมีอยู่หลากหลายชนิด โดยโรคเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ และอาจจะไม่ใช่โรคติดต่อทั้งหมด ซึ่งเรารู้ดีว่าสำหรับคนรักแมวแล้ว อาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ท้องเสียหรือการติดหมัด ก็ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจได้ ยิ่งถ้าพวกเค้ามีความเสี่ยงต่อโรคที่อันตรายต่อชีวิตอย่างโรคลิวคีเมียและโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้ว เจ้าของก็คงรู้สึกหนักใจยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพ เจ้าของควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของเจ้าตัวน้อย เพราะจะทำให้วินิจฉัยโรคแมวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเมื่อรู้ว่าเป็นโรคแมวชนิดใด ก็จะหาวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นด้วย เรามาเรียนรู้วิธีการดูแลน้องแมวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายจากบทความนี้ไปพร้อมกัน

ประเภทของโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับน้องแมว

  1. เบาหวาน:

    เป็นโรคที่พบบ่อยในแมว โดยเฉพาะในน้องแมวที่เป็นโรคอ้วน น้องแมวที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล อาการของโรคที่สังเกตได้คือน้องแมวกินน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว และอาเจียน สัตวแพทย์จะแนะนำให้ตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อทดสอบว่าเจ้าตัวน้อยของคุณเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ สำหรับการรักษาสัตวแพทย์จะวางแผนปรับการกินอาหารให้พวกเค้า โดยจะเน้นสูตรอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและโปรตีนสูง รวมถึงอาจให้ยากินและยาควบคุมอินซูลินร่วมด้วยเช่นกัน

  2. โรคไต:

    โรคไตเป็นโรคที่พบบ่อยในแมว และเป็นหนึ่งในโรคที่ร้ายแรงที่สุด โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งน้องแมวพันธุ์ขนยาวที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อโรคไตสูงกว่าน้องแมวกลุ่มอื่น โรคไตเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการกินยาหรือได้รับสารที่เป็นพิษ เช่น สารป้องกันการแข็งตัว ยาฆ่าแมลง หรือแม้แต่ไอบูโพรเฟน ซึ่งเป็นยาที่แนะนำให้ใช้กับคน น้องแมวที่เป็นโรคไตมักแสดงอาการขนร่วง ขนแห้ง น้ำหนักลด น้ำลายไหล มีกลิ่นปาก กินน้ำบ่อย และขับถ่ายบ่อย หากพบว่าน้องแมวมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบว่าเจ้าตัวน้อยของคุณเป็นโรคแมวชนิดนี้หรือไม่ และควรได้รับการรักษาต่อไปอย่างไร

  3. โรคเอดส์แมว:

    FIV หรือเชื้อไวรัส Feline Immunodeficiency Virus เป็นโรคในแมวที่พบบ่อยและส่งผลกระทบต่อแมวทั่วโลก ต่างจากโรคของแมวชนิดอื่น เชื้อไวรัสชนิดนี้จะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันในแมวโดยตรง โดยมุ่งเป้าไปที่การทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ไวต่อการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ มากขึ้น โรคเอดส์แมวติดต่อผ่านการกัดหรือจากแม่สู่ลูกแมว ทั้งนี้โรคของแมวชนิดนี้จะแสดงอาการออกมาช้า จึงไม่สามารถตรวจพบหรือสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ในทันที หากน้องแมวเริ่มแสดงอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลง ขนหยาบกระด้าง ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง ชัก และเริ่มส่งสัญญาณผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคทันที

  4. ลิวคีเมีย:

    โรคของแมวอย่างลิวคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคร้ายแรง โดยน้องแมวที่ติดเชื้อกว่า 85% ไม่รอดชีวิตเนื่องจากภูมิคุ้มกันถูกทำให้อ่อนแอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคโลหิตจางและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคลิวคีเมียจะแพร่กระจายผ่านน้ำลายและปัสสาวะ สามารถถ่ายทอดจากแมวตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งได้โดยการสัมผัสใกล้ชิด การใช้ชามอาหารร่วมกัน และการต่อสู้ ลูกแมวก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ โดยได้รับเชื้อจากแม่ น้องแมวที่ติดเชื้อจะมีอาการท้องเสีย สุขภาพผิวหนังย่ำแย่ กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ และมีลูกยาก โชคดีที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการพัฒนาวัคซีนป้องกัน จึงช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้

  5. โรคพิษสุนัขบ้า:

    เป็นอีกหนึ่งโรคในแมวที่พบได้บ่อย และพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อผ่านการกัดและข่วน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากเชื้อแพร่กระจายไปทั่วระบบประสาทรวมทั้งสมอง น้องแมวที่มีเชื้อพิษจะมีแสดงท่าทางสับสน กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอาการที่พบได้อีกจะมีน้ำหนักลด กล้ามเนื้อกระตุกและชัก อัมพาต สมาธิสั้น และก้าวร้าว โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคร้ายที่จำเป็นต้องดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ

  6. โรคพยาธิหนอนหัวใจ:

    พยาธิหนอนหัวใจเป็นปัญหาสุขภาพที่น่ากังวล เนื่องจากตรวจพบได้ยาก และมักจะวินิจฉัยโรคได้เมื่ออาการเริ่มแย่ลงแล้ว พยาธิหนอนหัวใจเป็นภาวะที่เกิดจากการมีพยาธิอาศัยอยู่ในหัวใจ ปอด และหลอดเลือด เมื่อระยะเวลาผ่านไป มันจะนำไปสู่โรคในแมวมากมาย ทั้งโรคปอด ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และความเสียหายต่ออวัยวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง น้องแมวที่ป่วยจะมีอาการอาเจียน ไอ ชัก เป็นลม และหายใจลำบาก เนื่องจากไม่ยารักษา จึงทำได้เพียงป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเท่านั้น

  7. โรคต่อมไทรอยด์ในแมว:

    อีกหนึ่งภาวะที่พบได้บ่อยในแมว เกิดจากต่อมไทรอยด์หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ โดยมักพบในน้องแมวที่อายุ 8 ปีขึ้นไป ผลจากการทำงานผิดปกตินี้ ทำให้อัตราการเผาผลาญของน้องแมวเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อหัวใจ ตับ ไต และอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจที่เป็นอันตรายกับน้องแมวมาก หากคุณพบอาการที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เช่น น้ำหนักลด ท้องเสีย อาเจียนบ่อย กระหายน้ำและปัสสาวะมากขึ้น ขนหยาบกระด้าง และความอยากอาหารลดลง ควรรีบนัดพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อตรวจสอบและรักษาโรคแมวชนิดนี้อย่างเหมาะสม

เราจะดูแลน้องแมวที่ป่วยเป็นโรคร้ายได้อย่างไรบ้าง?

  • การดูแล -

    เช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป เจ้าตัวน้อยของคุณสมควรได้รับความรักและความเอาใจใส่เป็นพิเศษเพื่อให้หายป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้วน้องแมวมักไม่ชอบเสียงดังหรือสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน ดังนั้นหากน้องแมวกำลังป่วย เจ้าของควรจัดหามุมพักผ่อนที่เงียบสงบ ห่างไกลจากเสียงรบกวน ย้ายกระบะทรายให้เข้าถึงได้ง่าย และอย่าลืมเตรียมเบาะนอนนุ่มแสนอบอุ่น พร้อมกับอาหารและน้ำไว้ให้พร้อมด้วย สิ่งที่สำคัญในช่วงเวลาฟื้นตัว คือต้องทำให้มั่นใจว่าน้องแมวจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงการรบกวน ยั่วยุ หรือหยอกล้อที่อาจทำให้พวกเค้าไม่พอใจ

  • การให้อาหาร -

    น้องแมวป่วยมักอยากอาหารน้อยลง อย่างไรก็ตามพวกเค้ายังจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้หายจากอาการป่วย เจ้าของควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอาหารและน้ำเพียงพออาหารแมวต้องสดใหม่ น้ำต้องสะอาด เพื่อกระตุ้นให้พวกเค้ากินได้มากขึ้น ทั้งนี้อาจต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารเพื่อลดปัญหาอาหารไม่ย่อยและอาการแพ้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเลือกอาหารสำหรับลูกแมวที่เหมาะสม และมีโภชนาการครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของพวกเค้า

  • พบสัตวแพทย์เป็นประจำ -

    ควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์อย่างน้อยปีละสองครั้ง หรือทุก ๆ หกเดือน หากน้องแมวป่วย ควรปรึกษาสัตวแพทย์ให้บ่อยที่สุด โดยอาจต้องไปพบบ่อยเดือนละสองครั้งหรืออย่างน้อยก็สัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพ

  • ข้อควรระวังเกี่ยวกับโรคแมวและวิธีการรักษา –

    แมวป่วยควรได้รับการดูแลอย่างระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยทั้งของเจ้าเหมียวละตัวเราเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการรับเชื้อโรคต่าง ๆ คุณจำเป็นต้องล้างมือทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังสัมผัสตัวน้องแมว การทำความสะอาดกระบะทรายหรือข้าวของเครื่องใช้ของเจ้าเหมียวเป็นประจำก็สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำให้น้องแมวตื่นเต้นหรือหงุดหงิดโดยไม่จำเป็น เพราะมันอาจจบลงด้วยบาดแผลจากการกัดและข่วน สุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดคือควรไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคในแมว

 
  1. โรคที่พบบ่อยในแมวมีอะไรบ้าง?

    แมวมีโอกาสติดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย การเรียนรู้และทำความเข้าใจโรคที่พบบ่อยในแมวจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของ โดยโรคในแมวที่เป็นอันตรายต่อน้องแมวคุณ ได้แก่ โรคลิวคีเมีย โรดเอดส์แมว โรคเบาหวาน โรคพยาธิหนอนหัวใจ และอื่น ๆ

  2. น้องแมวที่ป่วยจะแสดงอาการอะไรออกมาบ้าง?

    หากน้องแมวกำลังทรมานจากอาการ คุณจะสามารถสังเกตอาการบางอย่างที่ช่วยระบุโรคได้ โดยอาการเหล่านี้มักบ่งบอกลักษณะโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พวกเค้าอาจหายใจเร็ว และหายใจถี่ น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงจนเห็นได้ชัดเจน ขนร่วง อาเจียน และท้องเสีย

  3. น้องคนติดโรคจากแมวได้หรือไม่?

    แม้ว่าคนจะไม่ไวต่อโรคเฉพาะของแมว แต่ก็ยังสามารถรับเชื้อจากการสัมผัสน้องแมวที่ป่วยได้ นอกจากนี้น้องแมวที่ป่วยมักมีเชื้อโรคที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ทางที่ดีจึงควรป้องกันและดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับน้องแมวที่ป่วย

  4. น้องโรคที่อันตรายที่สุดสำหรับน้องแมวคือโรคอะไร?

    แม้ว่าน้องแมวส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ แต่น้องแมวบางตัวก็อาจพ่ายแพ้ต่อโรคร้ายแรงอย่างโรคลิวคีเมีย (ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมาย มันจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันและสร้างความเสียหายให้ไขกระดูก) โรคเอดส์ (เชื้อ FIV จะโจมตีระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้น้องแมวอ่อนแอและง่ายต่อการติดเชื้อ)

  5. น้องโรคติดต่อในแมวมีโรคอะไรบ้าง?

    โรคไข้หัดแมวเป็นหนึ่งในโรคติดต่อในแมวที่พบได้มากสุด มันแพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย หมัด อุจจาระ ตลอดจนเลือด รวมถึงชามน้ำ กระบะทราย และเสื้อผ้าที่ปนเปื้อน นอกจากนี้ยังสามารถส่งต่อจากแม่แมวที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนได้อีกด้วย

Whiskas buy online